วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2550

งานนวัตกรรม

1.นวัตกรรมการศึกษา
นวัตกรรมทางการศึกษา ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอย่างมาก ต่อวิธีการศึกษา ได้แก่แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป
อันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาที่สำคัญๆ 4 ประการ คือ
1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) การจัดการศึกษาของไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลเอาไว้อย่างชัดเจนซึ่งจะเห็นได้จากแผนการศึกษาของชาติ ให้มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจ และความสามารถ ของแต่ละคนเป็นเกณฑ์ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่ การจัดระบบห้องเรียนโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์บ้าง ใช้ความสามารถเป็นเกณฑ์บ้าง นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้
2. ความพร้อม (Readiness) เดิมทีเดียวเชื่อกันว่า เด็กจะเริ่มเรียนได้ก็ต้องมีความพร้อมซึ่งเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันการวิจัยทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ ชี้ให้เห็นว่าความพร้อมในการเรียนเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้ ถ้าหากสามารถจัดบทเรียน ให้พอเหมาะกับระดับความสามารถของเด็กแต่ละคน วิชาที่เคยเชื่อกันว่ายาก และไม่เหมาะสมสำหรับเด็กเล็กก็สามารถนำมาให้ศึกษาได้
3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา แต่เดิมมาการจัดเวลาเพื่อการสอน หรือตารางสอนมักจะจัดโดยอาศัยความสะดวกเป็นเกณฑ์ เช่น ถือหน่วยเวลาเป็นชั่วโมง เท่ากันทุกวิชา ทุกวันนอกจากนั้นก็ยังจัดเวลาเรียนเอาไว้แน่นอนเป็นภาคเรียน เป็นปี ในปัจจุบันได้มีความคิดในการจัดเป็นหน่วยเวลาสอนให้สัมพันธ์กับลักษณะของแต่ละวิชาซึ่งจะใช้เวลาไม่เท่ากัน บางวิชาอาจใช้ช่วงสั้นๆ แต่สอนบ่อยครั้ง การเรียนก็ไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในโรงเรียนเท่านั้น นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้
4. ประสิทธิภาพในการเรียน การขยายตัวทางวิชาการ และการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทำให้มีสิ่งต่างๆ ที่คนจะต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้นมาก แต่การจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอจึงจำเป็นต้องแสวงหาวิธีการใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทั้งในด้านปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้เรียน และปัจจัยภายนอก นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น - มหาวิทยาลัยเปิด - การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์ - การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป - ชุดการเรียน
2. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
1. ความหมายของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ หมายถึง ศูนย์รวมของวิชาความรู้ที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ บุคคล สิ่งประดิษฐ์ วัตถุ อาคาร สถานที่ ซึ่งมีอยู่กระจัดกระจาย ทั้งชุมชนเมืองและชุมชนชนบท อันเป็นขุมทรัพย์แห่งปัญญาที่แทรกซึมอยู่ในวิถีชีวิตของมนุษย์ เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ค้นพบได้อย่างไม่รู้จบ
2. คุณลักษณะของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่แท้จริงต้องสามารถสัมผัสกับบรรยากาศและสถานการณ์จริงโดยเอื้อประโยชน์ต่อกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งการเรียนรู้นั้นเกิดได้กับผู้เรียนทุกคน ทุกเวลา มีความหมาย มีความหลากหลาย สามารถเน้นทักษะและนำไปใช้ในชีวิตจริงได้ ผู้เรียนมีอิสระในการตัดสินใจ คิดริเริ่มและ ปฏิบัติได้อย่างมีความสุข
3. ประเภทของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ ประเภทของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ จำแนกได้หลายประเภทตามทัศนะของนักการศึกษาแต่ที่เด่นชัด จำแนกเป็น 4 ประเภทใหญ่ คือ
3.1 แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทบุคคล หมายถึง บุคคลที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม มีผลงานได้รับการยกย่อง เป็นที่ยอมรับของสังคมซึ่งถือเป็นตัวอย่างต้นแบบกับบุคคลรุ่นหลังสืบไปในหลายสาขาอาชีพ ตัวอย่างเช่น แม่กิมลั้ง แม่กิมเนีย ที่มีความถนัดทางด้านปรุงแต่งขนมหม้อแกงเมืองเพชร โกฮับเจ้าเก่า ผู้บุกเบิกก๋วยเตี๋ยวเรือคลองรังสิตจนเป็นที่รู้จักทั่วประเทศ ด้านการเรียนการสอน มีครูต้นแบบสร้างสรรค์ ผลงานนวัตกรรมทางการสอนขึ้นหลายรูปแบบ เช่น สอนให้สนุกเป็นสุขเมื่อได้สอน การสอนที่เน้นกระบวนการ การสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร เพื่อนสอนเพื่อน การสอนสิ่งแวดล้อมศึกษา การสอนดนตรีไทยและดนตรีพื้นเมือง
3.2 แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภททรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง สภาพธรรมชาติที่มีอยู่แล้วในโลกและอวกาศ ซึ่งไม่ได้หมายถึงสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ เช่น ภูเขา ป่าไม้ ลำธาร ห้วย หนอง คลอง บึง แม่น้ำ และสัตว์ป่านานาชนิด เป็นต้นเนื่องด้วยปัจจุบันมีการนำธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาใช้ประโยชน์อย่างมากจนเหลือจำนวนน้อยลง มนุษย์เริ่มตระหนักถึงภัยที่จะเกิดขึ้นเพราะขาดธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดี จึงได้มีการรณรงค์สร้างสิ่งทดแทนธรรมชาติ ได้แก่ ปลูกป่า จัดระบบนิเวศวิทยา อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการสอนพฤกษ-ศาสตร์ อนุรักษ์และขยายพันธุ์สัตว์ พันธุ์พืชนานาชนิด
3.3 แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทสื่อ หมายถึง สิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ที่ใช้เป็นช่องทางการสื่อสาร
แยกได้ 2 ประเภท คือ
(1) สื่อทางด้านกายภาพ ได้แก่ วัสดุ ลักษณะสิ่งพิมพ์ ฟิล์ม แผ่นภาพโปร่งใส เทปบันทึกภาพ เทปบันทึกเสียง แผ่น CD ชนิดเสียงและภาพ เป็นต้น อุปกรณ์ เป็นตัวช่องทางผ่านในลักษณะเครื่องฉาย เครื่องเสียงชนิดต่างๆ เป็นต้น
(2) สื่อทางด้านวิธีการ ได้แก่ รูปแบบที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่างๆ ทั้งการใช้เทคโนโลยีพื้นบ้าน และเทคโนโลยีระดับสูง
(2.1) สื่อท้องถิ่น ประเภทเพลง เช่น หมอลำ หนังตะลุง ลำตัด อีแซว ลำนำเพลงซอ เพลงพวงมาลัย เพลงฉ่อย และนิทานพื้นบ้าน(2.2) สื่อกิจกรรม เช่น หมากเก็บ หมากขะเหย่ง ตี่จับ มอญซ่อนผ้า เดินกะลา เป็นต้น เป็นที่น่าสังเกตว่า สื่อกิจกรรมพื้นบ้านดังกล่าวมีมาแต่โบราณ หลายกิจกรรมเหมือนกับของชนเผ่าปิกมี่ในทวีปแอฟริกา ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มีความสนุกตื่นเต้นในกลุ่มเด็กๆ ปัจจุบันก็ยังได้รับความนิยมอยู่ แต่ก็มีกิจกรรมที่ได้รับการพัฒนามาเป็นลำดับ จนถึงการใช้เทคโนโลยีระดับสูง เช่น โปรแกรมเกมคอมพิวเตอร์ บทเรียนโปรแกรม โปรแกรมผ่านสื่ออินเตอร์เนต ระบบมัลติมิเดีย ประเภท E-Learning เป็นต้น ซึ่งการประชุมสัมมนา การปฏิบัติงานกลุ่ม การทัศนศึกษา ก็เข้าข่ายสื่อกิจกรรมชนิดหนึ่ง
3.4 แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทวัตถุและอาคารสถานที่ หมายถึง วัตถุและอาคารสถานที่ ที่มีศักยภาพเป็นแหล่งความรู้ด้วยตัวของมันเอง สามารถสื่อความหมายโดยลำพังตัวเอง เช่น สถาปัตยกรรมด้านการก่อสร้าง จิตรกรรมภาพฝาผนัง ปูชนียวัตถุด้านประวัติศาสตร์ ชิ้นส่วนของธรรมชาติที่ให้ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ โบราณวัตถุทางด้านศาสนา พิพิธภัณฑ์ เป็นต้น
3. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
3.1. ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology:IT) หรือที่เรียกว่า ไอที นั้น โดยเน้นการใช้เทคโนโลยี ซึ่งรวมถึงกระบวนการดำเนินงานสารสนเทศหรือสารนิเทศในขั้นตอนต่างๆ ตั้งแต่การแสวงหา การวิเคราะห์ การจัดเก็บ การจัดการ และการเผยแพร่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วทันต่อการนำมาใช้ประโยชน์ หรือการนำสารสนเทศและข้อมูลไปปฏิบัติตามเนื้อหาของข้อมูลนั้นๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายของผู้ใช้
3.2. ประเภทของเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา1) ระบบสนับสนุนการทำงานในการปฏิบัติงานประจำวัน (Official information System:OIS)2) ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร(Management Information System :MIS)3) ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systim :DSS)4) ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง(Executive Information System :EIS)5) ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems :ES)
3.3. ข้อดี – ข้อจำกัดของเทคโนโลยีสารสนเทศ*ข้อดี-มีการเรียนรู้ที่กว้างขวาง-ทำให้วิถีความเป็นอยู่สังคมเปลี่ยนไป*ข้อจำกัด-มีค่าใช้จ่ายสูง-บุคคลากร
3.4. แนวทางการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับการศึกษา
1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) การจัดการศึกษาของไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลเอาไว้อย่างชัดเจนซึ่งจะเห็นได้จากแผนการศึกษาของชาติ ให้มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจ และความสามารถ ของแต่ละคนเป็นเกณฑ์
2. ความพร้อม (Readiness) เดิมทีเดียวเชื่อกันว่า เด็กจะเริ่มเรียนได้ก็ต้องมีความพร้อมซึ่งเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันการวิจัยทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ ชี้ให้เห็นว่าความพร้อมในการเรียนเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้ ถ้าหากสามารถจัดบทเรียน ให้พอเหมาะกับระดับความสามารถของเด็กแต่ละคน
3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา แต่เดิมมาการจัดเวลาเพื่อการสอน หรือตารางสอนมักจะจัดโดยอาศัยความสะดวกเป็นเกณฑ์ เช่น ถือหน่วยเวลาเป็นชั่วโมง เท่ากันทุกวิชา ทุกวันนอกจากนั้นก็ยังจัดเวลาเรียนเอาไว้แน่นอนเป็นภาคเรียน เป็นปี ในปัจจุบันได้มีความคิดในการจัดเป็นหน่วยเวลาสอนให้สัมพันธ์กับลักษณะของแต่ละวิชาซึ่งจะใช้เวลาไม่เท่ากัน
4. ประสิทธิภาพในการเรียน การขยายตัวทางวิชาการ และการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทำให้มีสิ่งต่างๆ ที่คนจะต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้นมาก3.5. การประเมินผลการใช้งาจัดทำแบบทดสอบหรือแบบสอบถาม
4. คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน
4.1. องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
1)เสนอสิ่งเร้าให้กับผู้เรียน ได้แก่ เนื้อหา ภาพนิ่ง คำถาม ภาพเคลื่อนไหว
2)ประเมินการตอบสนองของผู้เรียน ได้แก่ การตัดสินคำตอบ
3)ให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อการเสริมแรง ได้แก่ การให้รางวัล หรือ คะแนน
4)ให้ผู้เรียนเลือกสิ่งเร้าในลำดับต่อไป
4.2. ความหมายของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction : CAI) เป็นกระบวนการเรียนการสอน โดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์ ในการนำเสนอเนื้อหาเรื่องราวต่างๆ มีลักษณะเป็นการเรียนโดยตรง และเป็นการเรียน แบบมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive) คือสามารถโต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ได้
4.3. ประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1)เพื่อการสอน (Tutorial Instruction) วัตถุประสงค์เพื่อ การสอนเนื้อหาใหม่แก่ผู้เรียน มีการแบ่งเนื้อหาเป็นหน่วยย่อย มีคำถามในตอนท้าย ถ้าตอบถูกและผ่าน ก็จะเรียนหน่วยถัดไป โปรแกรมประเภท Tutorial นี้มีผู้สร้างเป็นจำนวนมาก เป็นการนำเสนอโปรแกรมแบบสาขา สามารถสร้างเพื่อสอนได้ทุกวิชา
2)ประเภทการฝึกหัด (Drill and Practive) วัตถุประสงค์คือ ฝึกความแม่นยำ หลังจากที่เรียนเนื้อหาจากในห้องเรียนมาแล้ว โปรแกรมจะไม่เสนอเนื้อหา แต่ใช้วิธีสุ่มคำถามที่นำมาจากคลังข้อสอบ มีการเสนอคำถามซ้ำแล้วซ้ำอีกเพื่อวัดความรู้จริง มิใช่การเดา จากนั้นก็จะประเมินผล
3)ประเภทสถานการณ์จำลอง (Simulation) เพื่อให้ผู้เรียนได้ทดลองปฏิบัติกับสถานการณ์จำลอง ที่มีความใกล้เคียงกับเหตุการณ์จริง เพื่อฝึกทักษะและเรียนรู้ โดยไม่ต้องเสี่ยงหรือเสียค่าใช้จ่ายมาก มักเป็นโปรแกรมสาธิต(Demostration) เพื่อให้ผู้เรียนทราบถึงทักษะที่จำเป็น
4)ประเภทเกมการสอน (Instruction Games) มีวัตถุประสงค์เพื่อ กระตุ้นความสนใจของผู้เรียน มีการแข่งขัน เราสามารถใช้เกมในการสอน และเป็นสื่อที่ให้ความรู้แก่ผู้เรียนได้ ในแง่ของกระบวนการ ทัศนคติ ตลอดจนทักษะต่างๆ ทั้งยังช่วยเพิ่มบรรยากาศในการเรียนรู้ให้มากขึ้นด้วย
5)ประเภทการค้นพบ (Discovery) เพื่อให้ผู้เรียน ได้มีโอกาสทดลองกระทำสิ่งต่างๆ ก่อน จนกระทั่งสามารถหาข้อสรุปได้ด้วยตนเอง โปรแกรมจะเสนอปัญหาให้ผู้เรียนได้ลองผิดลองถูก และให้ข้อมูลแก่ผู้เรียน เพื่อช่วยผู้เรียนในการค้นพบนั้น จนกว่าจะได้ข้อสรุปที่ดีที่สุด
6)ประเภทการแก้ปัญหา (Problem-Solving) เพื่อฝึกให้นักเรียนรู้จักการคิด การตัดสินใจ โดยจะมีเกณฑ์ ที่กำหนดให้แล้วผู้เรียนพิจารณาตามเกณฑ์นั้นๆ
7)ประเภทเพื่อการทดสอบ (Test) ประเภทนี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการสอน แต่เพื่อใช้ประเมินการสอนของครู หรือการเรียนของนักเรียน คอมพิวเตอร์จะประเมินผลในทันที ว่านักเรียนสอบได้หรือสอบตก และจะอยู่ในลำดับที่เท่าไร ได้ผลการสอบกี่เปอร์เซ็นต์4.4. ข้อดี ข้อจำกัดข้อดี บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
มีประโยชน์ต่อการเรียนการสอน ดังนี้
1)สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้
2)ดึงดูดความสนใจ โดยใช้เทคนิคการนำเสนอด้วยกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว แสง สี เสียง สวยงามและเหมือนจริง
3)ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และสามารถเข้าใจเนื้อหาได้เร็ว ด้วยวิธีที่ง่ายๆ
4)ผู้เรียนมีการโต้ตอบ ปฏิสัมพันธ์กับคอมพิวเตอร์ และบทเรียนฯ มีโอกาสเลือก ตัดสินใจ และได้รับการเสริมแรงจากการได้รับข้อมูลย้อนกลับทันที
5)ช่วยให้ผู้เรียนมีความคงทนในการเรียนรู้สูง เพราะมีโอกาสปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง ซึ่งจะเรียนรู้ได้จากขั้นตอนที่ง่ายไปหายากตามลำดับข้อจำกัดของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1)การพัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูงพอสมควร ทั้งในด้านฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์
2)ต้องอาศัยความคิดจากผู้ชำนาญการ หรือผู้เชี่ยวชาญ จำนวนมากในการระดมความคิด
3)ใช้เวลาในการพัฒนานาน
4)การออกแบบสื่อ กระทำได้ยาก และซับซ้อน
4.5. การออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1) ใช้สอนแทนผู้สอน ทั้งในและนอกห้องเรียน ทั้งระบบสอนแทน, บททบทวน และสอนเสริม
2) ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนทางไกล ผ่านสื่อโทรคมนาคม เช่น ผ่านดาวเทียม เป็นต้น
3) ใช้สอนเนื้อหาที่ซับซ้อน ไม่สามารถแสดงข้องจริงได้ เช่น โครงสร้างของโมเลกุลของสาร
4) เป็นสื่อช่วยสอน วิชาที่อันตราย โดยการสร้างสถานการณ์จำลอง เช่น การสอนขับเครื่องบิน การควบคุมเครื่องจักรกลขนาดใหญ่5) เป็นสื่อแสดงลำดับขั้น ของเหตุการณ์ที่ต้องการให้เห็นผลอย่างชัดเจน และช้า เช่น การทำงานของมอเตอร์รถยนต์ หรือหัวเทียน4.6. การใช้และการประเมินผลคอมพิวเตอร์เป็นนวัตกรรมการศึกษาที่มีการพัฒนาและนำมาใช้อย่างมากที่สุด ในช่วงระยะ 10 ปีที่ผ่านมา มีการนำเอาคอมพิวเตอร์ไปใช้ในระบบบริหาร และช่วยสอนอย่างมากมาย แต่เนื่องจากยังมีข้อจำกัดในด้านงบประมาณ บทเรียนที่มีคุณภาพและบุคลากรที่มีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ดังนั้นคอมพิวเตอร์จึงยังคงต้องได้รับความเอาใจใส่และพัฒนาต่อเนื่องเพื่อให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลกที่มีการแข่งขันอย่างรุนแรงในทุกด้าน

วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2550

การเรียนรู้ก่อนการปฏิบัติกิจกรรม (Before Action : BAR)

เรื่องความรู้และทักษะเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษาที่ครูควรมีประเด็นการอภิปราย
1.ครูควรมีความรู้และทักษะเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีการศึกษาหรือไม่?อย่างไร? และเพราะอะไร?ตอบ ควรมีเพราะปัจจุบันเครื่องมือทางเทคโนโลยีความสำคัญมากกับการศึกษาของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คอมพิวเตอร์ เพราะคอมพิวเตอร์มีบทบาในการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมนอกเหนือจากตำราเรียนได้อย่างรวดเร็วและสะดวกดังนั้นครูจึงควรมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์การซ่อมบำรุงอย่างง่าย ๆและการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าของคอมพิวเตอร์ เพื่อจะนำคอมพิวเตอร์ไปใช้เป็นสื่อการสอนควบคู่กับความรู้ต่าง ๆ ได้
2. ความรู้และทักษะที่ว่านั้นมีอะไรบ้างตอบ
2.1ด้านการปฏิบัติตามขั้นตอนตามวิธีการได้อย่างถูกต้อง
2.2ต้องมีทักษะทางด้านความรู้พื้นฐานทางด้านการใช้คอมพิวเตอร์และเครื่องมือเทคโนโลยีการศึกษา เช่น เครื่องฉายสไลด์ , เครื่องเสียง เป็นต้น
2.3ต้องมีความรู้ในการบำรุงรักษาเครื่องมือเทคโนโลยีการศึกษาอย่างถูกวิธี
2.4ศึกษาข้อควรระวังในการใช้งาน
3.เครื่องมือเทคโนโลยีการศึกษาที่จำเป็นสำหรับครูในปัจจุบันมีอะไรบ้าง?ตอบ คอมพิวเตอร์ ,เครื่องฉายสไลด์ ,เครื่องเสียง (ด้านเครื่องขยายเสียง , เครื่องบันทึกเสียง , ไมโครโฟน) เครื่องเล่นวีดิทัศน์ และเครื่องฉายภาพวีดิทัศน์
4.จะทราบได้อย่างไร ?ว่าครูมีความรู้และทักษะมากน้อยแค่ไหน
ตอบ1.จัดอบรมให้ครูมีความรู้เรื่องเครื่องมือเทคโนโลยีทางการศึกษา2.มีการทดสอบทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติ เพื่อให้ได้ใบประกาศนียบัตร
5.จะเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาความรู้และทักษะเหล่านี้แก่ครูด้วยตนเองอย่างไร
ตอบสอบถามผู้รู้ ,หาหนังสือมาศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม,สืบค้นจาก INTERNETและลงมือปฏิบัติจริง

วันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ความคิดเห็นเกี่ยวกับสื่อ

ความคิดเห็นเกี่ยวกับสื่อโทรทัศน์
โทรทัศน์หรือทีวี ไม่ว่าที่บ้านหรือที่ทำงานหรือที่โรงเรียนฯลฯก็จะทีกันแทบจะทุกที่เพราะโทรทัศน์ได้เข้าไปมีบทบาทกับทุกๆที่แล้วถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว เพราะถ้าไม่มีโทรทัศน์ก็จะไม่รู้ข่าวสารเกี่ยวกับบ้านเมืองที่กล่าวกันว่า ตอนนี้ได้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับร่างขึ้นมาและให้ลงความเห็นชอบและไม่เห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 19 สิงหาคมนี้ นี่เป็นตัวอย่างที่เราสามารถทราบข้อมูลได้จากโทรทัศน์ว่ามีใครให้ความคิดเห็นอย่างไรบ้างก่อนที่เราจะตัดสินใจ แต่บางครอบครัวก็ไม่ได้ให้ความสำคัญเท่าไรคือในกรณีนี้กล่าวถึงมีเด็กอยู่ที่บ้าน เพราะเด็กบางคนอาจไม่ทำอะไรเลยนอกจากดูโทรทัศน์
สรุปฉะนั้นโทรทัศน์หรือทีวีกมีบทบาทสำคัญมากที่เราต้องศึกษาและรับข้อมูลใหม่ๆอยู่เสมอ

วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

งาน

แจ้งข่าว ป.บัณฑิต วิชานวัตกรรมและเทคโลยีเพื่อการเรียนรู้
- ภาคพิเศษ วันที่22 กรกฎาคม 2550 จะมีการอภิปรายผ่าน MSN "ประเด็นสื่อมวลชนกับการ ศึกษา"ให้ทุกคนรายงานตัวตั้งแต่เวลา 12.50น. เป็นต้นไป สำคัญในเมนู Tool-Option-Personal-My display name ให้ใส่ชื่อจริง ภาษาไทย เช่น รัฐกรณ์

- ภาคปกติ วันที่ 27 กรกฎาคม 2550 เริ่มเช็คชื่อตั้งแต่เวลา 8.45น. รายละเอียดต่าง ๆเหมือนภาคพิเศษ


เขียนโดย rattakorn ที่ 6:43 หลังเที่ยง 0 ความคิดเห็น


เปลี่ยนแปลงกำหนดส่งงาน(เก่า)
-ให้นักศึกษาภาคพิเศษ ส่งงานขยายภาพ กับ โปสเตอร์ วันที่ 5 สิงหาคม 2550 วันที่ 22 ก.ค.Online Class และ29 ก.ค. งด Class มาเรียนตามปกติวันที่ 5 สิงหาคม 2550

-ให้นักศึกษาภาคปกติ ส่งงานขยายภาพ กับ โปสเตอร์ วันที่ 3 สิงหาคม 2550 วันที่ 20 งด และ 27 Online Class ผ่าน MSN และมาเรียนปกติวันที่ 3 สิงหาคม 2550
เขียนโดย rattakorn ที่ 6:36 หลังเที่ยง 0 ความคิดเห็น



งานวิชานวัตกรรมและเทคโนโนโลยีเพื่อการเรียนรู้
สมมุติท่านได้รับเชิญให้เป็นผู้ให้ความรู้เยวกับการใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีการศึกษา หรือ โสตทัศนูปกรณ์ แก่ครูที่บรรจุใหม่ซึ่งยังไม่มีความรู้ในด้านเหล่านี้ โดยให้เวลาประมาณ 3 วัน ท่านจะดำเนินการอย่างไร ? โปรดนำเสนอรายละเอียดในประเด้นเหล่านี้
1. ท่านจะตั้งหัวข้อในการอบรมว่าอย่างไร?
2. ท่านจะกำหนดวัตถุประสงค์ในการอบรมอย่างไร?(เขียนเป็นข้อๆ)
3. มีเครื่องมือหรืออุปกรณ์ใดบ้างที่ท่านคิดว่าครูควรจะนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนของครู
4. ให้ท่านนำเสนอรายละเอียดเนื้อหาของแต่ละเครื่องมือในประเด็นเหล่านี้
-หลักการและประโยชน์ในการใช้งาน
-ส่วนประกอบภายนอก-ภายในที่สำคัญ
-หลัการทำงานของอุปกรณ์นั้นๆ
-ข้อควรระวังในการใช้และการบำรุงรักษา
5. ท่านมีกิจกรรมในการดำเนินการให้ความรู้อย่างไร?(เขียนรายละเอียดขั้นตอนให้ชัเจนครบทั้ง 3 วัน)
6.ท่านจะมีวิธีการวัดและการประเมินผลทั้งด้านทฤฎีและปฏิบัติอย่างไร?
- ด้านการปฏิบัติจะทำอย่างไร?(เขียนอธิบายขั้นตอน)
- ด้านทฤษฎีจะทดสอบอย่างไร?(ถ้าเป็นแบบทดสอบให้แสดงโจทก์คำถาม ตัวเลือก พร้อมเฉลย เป็นรายข้อทุกข้อให้ชัดเจน)
7. ท่านมีเกณฑ์ในการประเมินผลอย่างไร?
ให้นำเสนอรายละเอียดทั้งหมดส่งผ่าน e-Mail:krattakorn@hotmail.com ดังนี้
- ภาคปกติ ส่งภายในวันที่ 1 สิงหาคม 2550
- ภาคพิเศษ ส่งภายในวันที่ 3 สิงหาคม 2550
เขียนโดย rattakorn ที่ 6:30 หลังเที่ยง 0 ความคิดเห็น



วันศุกร์, กรกฎาคม 13, 2007
Blog คืออะไร
มีหลายคนสงสัยและถามผมว่า Blog คืออะไร? ทำไมอาจารย์จึงพูดถึงบ่อย ๆ และให้นักศึกษาไปเรียนรู้ มันจะนำมาใช้เพื่อประโยชน์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร ?จึงขอโอกาสให้ความกระจ่างเล็กๆ น้อยๆ(ยังมีอีกมาก)เกี่ยวกับเรื่องราวของ Blog ในที่นี้เสียเลย
Blog มาจากคำว่า Weblog คือ การเขียนข้อมูลต่าง ๆ ที่เราสนใจ การบอกเล่าประสบการณ์ หรือการบรรยายการใช้ชีวิตในแต่ละวัน หรือข้อมูลอื่นๆ ลงบนเว็บไซต์เพื่อให้ผู้อื่นได้เข้ามาอ่าน ซึ่งอาจจะเป็นรูปแบบใดก็ได้ไม่จำกัด ซึ่งมีลักษณะคล้าย Webboard ซึ่งเราสามารถตั้งหัวข้อเขียนบรรยายเรื่องราวต่าง ๆ และเปิดโอกาสให้มีคนเข้ามาแสดงความคิดเห็นได้ด้วย แต่ต่างจาก Webboard ตรงที่เราสามารถจัดการหน้า Blog ของเราเองได้เหมือนเราเป็นเจ้าของเว็บไซต์ สามารถลบ เพิ่มแก้ไข เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
Blog เป็นสื่อหรือตัวกลางอย่าหนึ่ง ซึ่งกำลังได้รับความนิยมอย่างสูงในปัจจุบัน ภึงกลับมีคนกล่าวว่า "Goodbye homepage...hello webblog"ซึ่งประโยชน์ของ Blog พอสรุปได้ดังนี้
1. เป็นสื่อกลางที่ใช้ในรู้การแสดงความคิดเห็น ความรู้สึกนึกคิดของผู้เขียนเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆเพื่อให้ผู้อื่นได้รับรู้
2. ทำให้ได้รับความรู้ใหม่ๆ จากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้อื่น
3.ทำให้เป็นคนทันโลกทันเหตุการณ์อยู่เสมอ
4.สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานด้านธุรกิจได้ เช่น ด้านการตลาด การประชาสัมพันธ์ การโฆษณาต่าง ๆ เป็นต้น
ในด้านรูปแบบการนำ Blog ไปใช้ก็มีหลากหลายรูปแบบ ดังนี้
1. Personal เป็นการเขียน Blog ในลักษณะการเล่าเรื่องส่วนตัว บรรยายถึงความรู้สึกนึกคิด หรือเล่าเรื่องราวในชีวิตประจำวันที่ได้ประสบพบเจอในลักษณะของ Diary
2. Topical เป็นรูปแบบการเขียน Blog โดยกำหนดหัวข้อหรือจุดมุ่งหมายในการเขียนที่ชัดเจน เช่น ฟุตบอล การเมือง คอมพิวเตอร์ ฯลฯ
3. Collaborative เป็นรูปแบบการเขียน Blog แบบช่วยกันเขียน ช่วยกันปรับปรุงโดยมีผู้เขียนหลาย ๆคน หรือมีการเชื่อมโยงไปยัง Blog อื่น ๆ
4. Specialty เป็นรูปแบบการเขียน Blog เพื่องานต่าง ๆ เป็นกรณีพิเศษเช่น การรับบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่าง ๆ
เมื่อทราบเรื่องราวเบื้องต้นของ Blog แล้วลองช่วยคิดต่อหน่อยซิครับว่าจะนำมันมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับตัวเราได้อย่างไรบ้าง และในส่วนของการเรียนการสอนน่าจะนำไปประยุกต์ใช้อย่างไรบ้าง?
เขียนโดย rattakorn ที่ 12:03 ก่อนเที่ยง 0 ความคิดเห็น



วันอังคาร, กรกฎาคม 10, 2007
วิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้(Innovation and Technology for Learning) จำนวน 3(2-2-5) หน่วยกิต
แนวคิด หลักการ ทฤษฏีเกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยี เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ แนวคิดเชิงระบบ กระบวนการสื่อความหมาย สื่อและแหล่งการเรียนรู้ สื่ออิเลคทรอนิคส์ และเครือข่ายการเรียนรู้ที่ส่งเสริมพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ ปัญหาจากการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีการเรียนรู้
ปฏิบัติการออกแบบ ผลิต ใช้ ประเมิน และปรับปรุงนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
เขียนโดย rattakorn ที่ 8:22 หลังเที่ยง 0 ความคิดเห็น



วัตถุประสงค์ของ Blogs
1. เพื่อเป็นศูนย์กลางในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน และระหว่างผู้เรียนด้วยกันเอง
2. สร้างชุมชนในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเนื้อหาวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้
3. ฝึกการใช้เครือข่ายสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
4. เป็นเวทีสำหรับการแสดงความคิดเห็นในเกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้